วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สัตว์ป่าสงวน


สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ จำนวน ๙ ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ นับเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘๐ จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕


กระซู่ ชื่อสามัญ Sumatran Rhino ชื่อวิทยาศาสตร์ Didermocerus sumatraensis
ลักษณะ จัดเป็นแรดที่พันธุ์เล็กที่สุด ความสูงที่ไหล่ 1 - 1.4 เมตร น้ำหนัก 900 - 1,000 ก.ก. มี 2 นอ ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทในการรับกลิ่นดีมาก เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะไม่ข้าม และมักใช้หัวดันให้พ้นทางเดิน ชอบกินกิ่งไม้ ใบไม้และผลไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7 - 8 เดือน